หน้ากากแอร์เป็นส่วนประกอบในระบบท่อลม มีชื่อเรียกและมีหน้าที่ต่างๆ ดังนี้
หัวจ่ายแอร์ หรือ หน้ากากลมส่ง (Supply Air Grille)
ติดตั้งตรงปากท่อลมส่ง เพื่อช่วยในการกระจายลมเย็นและเพื่อความสวยงาม โดยมีคุณสมบัติในการจ่ายลม และมีรูปร่างให้เลือกหลายแบบ เช่น แบบสี่เหลี่ยมจตุรัส (Square Diffuser) ซึ่งมีทั้งแบบเป่า 4 ทาง, 2 ทาง, 3 ทาง, แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular Diffuser), แบบเป็นร่อง (Slot Diffuser) ซึ่งมีตั้งแต่ 1-4 ร่อง (Slot) หรือมากกว่า, แบบเป่าข้าง (Register), แบบเจ็ต (Jet Diffuser) หัวจ่ายแอร์ที่ใช้กับระบบ VAV จะต้องมีความสามารถในการเป่าลมเย็นเลียดไปกับฝ้าเพดานได้ (อาศัยความเร็วลมและแรงยกตัว เช่นเดียวกับแรงยกตัวของปีกเครื่องบิน มีชื่อทางเทคนิคว่า Coanda Effect) เพื่อไม่ให้ลมเย็นตกเมื่อมีการหรี่ลมให้น้อยลง นอกจากนี้ในระบบปรับอากาศที่ใช้ความเย็นเสริมจากระบบเก็บความเย็นในรูปของน้ำแข็ง (Ice Storage) ที่อาจจะใช้ระบบอุณหภูมิต่ำ (Low Temperature) ก็ยังมีหัวจ่ายแอร์แบบพิเศษ ที่เรียกว่า Low Temp. Diffuser ซึ่งมีความสามารถในการดึงลมข้างเคียงมาผสม (Induce Effect) ให้เกิดการหมุนเวียนของลมสูงขึ้น เนื่องจากการใช้ลมที่มีอุณหภูมิต่ำจะทำให้ปริมาณลมส่งลดลง หากจะให้การหมุนเวียนของอากาศภายในห้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ จำเป็นที่จะต้องใช้หัวจ่ายที่สามารถทำให้เกิดอัตราการหมุนเวียนลมภายในห้องต่อปริมาตรลมเย็นที่จ่ายสูงขึ้น หัวจ่ายดังกล่าวนี้จะต้องไม่เกิดน้ำเกาะเนื่องจากลมที่เย็นกว่าปกติด้วย
ติดตั้งตรงปากทางลมกลับเพื่อความสวยงาม โดยทั่วไปความเร็วลมที่หน้ากากลมกลับจะเป็นประมาณ 300-400 ฟุต/นาที ในขณะที่ความเร็วลมที่หัวจ่ายแอร์จะใช้ความเร็วลมประมาณ 400-600 ฟุต/นาที หากติดตั้งหน้ากากลมกลับใกล้กับหัวจ่ายแอร์ จะต้องใช้ความเร็วลมไม่มากกว่าครึ่งหนึ่งของความเร็วหัวจ่าย เพื่อป้องกันการลัดวงจรของลมส่งกลับมาที่ทางลมกลับ เราจะสังเกตได้ว่าเครื่องปรับอากาศแบบหน้าต่าง หรือแบบ Wall Type จะมีหน้ากากลมกลับใหญ่กว่าหน้ากากลมจ่ายแอร์มาก เนื่องจากเหตุผมเดียวกันนี้
เป็นหน้ากากที่ติดตั้งอยู่ที่ผนังหรือเพดานภายนอกอาคารเพื่อรับอากาศจากภายนอกอาคารเข้ามา ซึ่งก็ต้องพิจารณาเรื่องการกันฝน และแมลงด้วยเช่นกัน ตำแหน่งที่ติดตั้งจะต้องไม่อยู่ใกล้บริเวณที่มีอากาศเสียหรือมีกลิ่น
เป็นอุปกรณ์ประกอบในระบบท่อลม เพื่อควบคุมปริมาณลม ได้แก่
ทำหน้าที่ปรับปริมาณลม อาจจะติดตั้งตรงบริเวณท่อทางแยกต่างๆ ในระบบท่อลม
ทำหน้าที่ปรับปริมาณลมโดยมีมอเตอร์ขับให้ตัวใบปรับลมเปิดมากหรือน้อยตามที่ต้องการ
ทำหน้าที่ปิดระบบท่อลมไม่ให้ลมหรือเปลวไฟผ่านได้หากเกิดเพลิงไหม้ โดยการทำงานอาศัยตัวเชื่อมต่อที่จะละลายเมื่อโดนไฟเผา (Fusible Link) และเมื่อสลายจะปล่อยให้ใบที่เป็นลิ้นกันไฟปิดลงโดยอาศัยน้ำหนักตัวเอง
ทำหน้าที่เหมือน Fire Damper แต่มักจะเป็นชนิดที่ใช้มอเตอร์ขับ และจะทำงานร่วมกับระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ โดยจะปิดเมื่อพบว่าเกิดควันไฟเกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ควันไฟผ่านไปในระบบท่อลม
ทำหน้าที่เหมือนวาล์วทางเดียว คือ จะให้ลมไหลได้ทางเดียว หากลมหยุดไหลก็จะปิดเอง โดยอาศัยน้ำหนักถ่วง
แดมเพอร์ที่มีคุณภาพจะต้องไม่ค้าง จะต้องสามารถปรับลมได้ตามต้องการ และเมื่อปิดจะต้องปิดได้ค่อนข้างสนิท (Low Leakage) ลักษณะใบปรับลมอาจจะเป็นแบบหลายใบปิดเข้าหากัน (Opposed Blade) และแบบปีกผีเสื้อ (Butterfly) ที่มักจะใช้กับท่อลมขนาดเล็ก หรือใช้ใน VAV Box เนื่องจากสร้างง่าย และควบคุมปริมาณลมได้ดี โดยที่ปลายใบอาจจะมีแผ่นยางช่วยให้ปิดลมได้สนิทขึ้น
พวกแดมเพอร์ต่างๆ ไม่นิยมใช้ในท่อที่มีอากาศสกปรก เช่น ท่อระบายอากาศจากครัว หรือห้องซักรีด เพราะไขมันหรือสิ่งสกปรกจะไปจับแกนใบปรับลมทำให้ค้าง ถ้าจะได้ประโยชน์ก็เฉพาะช่วงปรับลมเมื่อตอนติดตั้งเสร็จใหม่ๆ เท่านั้น
แผงกรองอากาศมีหน้าที่กรองฝุ่นละอองในอากาศ เพื่อทำให้คุณภาพอากาศภายในห้องปรับอากาศดีขึ้น ในปัจจุบันมีผู้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality, IAQ) กันมากขึ้น เนื่องจากพบว่าสุขภาพของคนทำงานขึ้นกับคุณภาพอากาศภายในอาคารเป็นอย่างมาก และฝุ่นละอองในอากาศเป็นสาเหตุของอาการป่วย โรคภูมิแพ้ต่างๆ
สำนักงานในกรุงเทพฯ ที่ปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ภายในสำนักงานได้ อาจจะมีจำนวนฝุ่นละอองขนาด 0.05 ไมครอน ถึง 800,000-1,000,000 อณู ในขณะที่สำนักงานที่มีการกรองอากาศที่ดี และไม่มีการสูบบุหรี่ จะมีจำนวนฝุ่นละอองในอากาศขนาดเดียวกันเพียง 100,000-300,000 อณู และจะพบว่าสำนักงานที่มีอากาศที่ดี พนักงานจะมีสถิติการป่วยและเป็นหวัดน้อยลงมาก (จากประสบการณ์ในบริษัทฯ ที่ผมทำงานอยู่)
ในปัจจุบันมีผู้ขายเครื่องฟอกอากาศกันมากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่ช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศทั้งสิ้น
แผงกรองอากาศที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศมีหลายชนิดด้วยกัน ชนิดที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กทั่วไปมักจะทำจากใยสังเคราะห์เป็นแผ่นบางๆ และสามารถล้างทำความสะอาดได้โดยการจุ่มทำความสะอาดในอ่างน้ำ (Washable Type) นอกจากนี้ยังมีชนิดที่ถักจากเส้นอลูมิเนียม (Aluminium Filter) และมีกรอบทำเป็นแผ่นๆ ชนิดนี้ถอดมาล้างได้เหมือนกัน และมีความหนา 1-2 นิ้ว แผงกรองอากาศพวกนี้จะมีประสิทธิภาพ 10-20%
ในกรณีที่ต้องการการกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แผงกรองอากาศมักจะทำจากกระดาษมีความลึกของตัวชั้นแผงกรองอากาศตั้งแต่ 2-24 นิ้ว ขนาดมักจะเป็น 2 ฟุต x 2 ฟุต (หน่วยยังเป็น นิ้ว-ฟุต เพราะใช้ตามระบบอเมริกัน) และมีประสิทธิภาพตั้งแต่ 70-99.99% ในกรณีที่ใช้แผงกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง มักจะต้องมีแผงกรองอากาศประสิทธิภาพต่ำ และปานกลาง เป็นตัวดักหน้าไว้ก่อน จะได้ไม่ตันเร็ว เพราะแผงกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง จะมีราคาแพง นอกจากนี้ยังมีแรงเสียดทานสูงอีกด้วย